วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วันทนา ศิวะ: วีรสตรี พิทักษ์ชีวิตมนุษย์ ชีวิตโลก

getimage.aspx
Shiva’s new book, Bhoomi: The Living Soil, celebrates soil as a living organism.
หนังสือเล่มใหม่ของศิวะ, ภูมี: ดินที่มีชีวิต, เชิดชูดินในฐานะองค์แห่งชีวิตหนึ่ง.
FOR MANY YEARS, VANDANA SHIVA HAS BEEN WAGING A WAR AGAINST INDUSTRIALIZED FARMING AND THE USE OF GENETICALLY MODIFIED CROPS
เป็นเวลาหลายปีมาแล้ว, วันทนา ศิวะ ได้ทำศึกกับเกษตรอุตสาหกรรม และ การใช้พืช จีเอ็มโอ (ตัดแต่งทางพันธุกรรม)
NEW DELHI: Hidden in the narrow lanes of block A in Hauz Khas, is a simple apartment building with no nameplate or house number. Most people going through this posh locality can be blinded by the glossy nameplates and imported cars and may miss the earthy hermitage of environmentalist Vandana Shiva. This three-storey building is a shrine for crusaders of organic movement.
นิวเดลี:  ซุกซ่อนอยู่ในซอยแคบๆ ของบล็อกเอ ในย่านฮอสคาส เป็นอาคารชุดเรียบง่าย ไม่มีป้ายชื่อ หรือ เลขที่บ้าน.  คนส่วนใหญ่เดินผ่านไปมาในย่านจอแจแห่งนี้ คงถูกหันเหด้วยป้ายฉูดฉาดและโฆษณารถสั่งเข้า แล้วก็เดินเลยคูหาพื้นๆ ของนักสิ่งแวดล้อม วันทนา ศิวะ.  อาคารสามชั้นแห่งนี้แหละ เป็นแท่นสักการะสำหรับนักรบในขบวนการอินทรีย์.
Shiva, a University of West Ontario trained physicist, is an authority on organic farming and small farmer’s movement. Author of over 20 books on ecology and agriculture, she has been honoured with several prestigious awards. Her lectures get sold out everywhere from, Albuquerque to Brussels, in a matter of hours.
ศิวะ, นักฟิสิกส์ที่ผ่านการฝึกอบรมจากมหาวิทยาลัยเวสต์ออนตาริโด, เป็นผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องเกษตรอินทรีย์ และ การขับเคลื่อนของเกษตรกรรายย่อย.  เธอได้เขียนหนังสือกว่า ๒๐ เล่มเรื่องนิเวศวิทยาและเกษตรกรรม, ได้รับรางวัลเชิดชูมากมาย.  งานแสดงปาฐกถาของเธอขายดิบขายดีทุกที่, ตั้งแต่อัลบูเควอร์คิว ถึง บรัซเซล, ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง.
A member of various national and international committees, she worked on the traditional methods of farming and fought for the rights of women, farmers and soil. With her Gandhian methods of non-violence, she stood in the way of corporations trying to steal livelihoods and has worked to prevent the bio piracy of indigenous species. She has brought to the forefront a debate on genetically modified crops, and worked to prevent their entry into India.
ในฐานะที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมแห่งชาติ และ นานาชาติ, เธอทำงานเรื่องวิธีการทำเกษตรกรรมแบบเดิม และ ต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี, เกษตรกร และดิน.  เธอใช้วิธีอหิงสาของคานธี, ยืนขวางทางของเหล่าบรรษัท ที่พยายามฉกชิงวิถีชีวิต และได้ทำงานเพื่อสกัดกั้นโจรสลัดทางชีวภาพของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตดั้งเดิมในอินเดีย.  เธอได้นำวิวาทะเรื่องพืช จีเอ็มโอ ให้ขึ้นมาอยู่แถวหน้า, และ ขัดขวางการนำเข้าสู่อินเดีย.
A-60, Hauz Khas is the head office of her organisation, Navdanya, and her home in Delhi. “I started this office in the 1980s when we were organizing against General Agreement on Trade and Tariffs (GATT). I started spending a lot of time in Delhi as half the time I was running from Delhi to Dehradun (her hometown) getting documents and spending hours drafting letters, policies,” Shiva said.
ณ บ้านเลขที่ A-60, Hauz Khas  เป็นสำนักงานใหญ่ขององค์กรของเธอ, นวธัญญะ, และบ้านของเธอในกรุงเดลี.  “ฉันเริ่มสำนักงานแห่งนี้ในทศวรรษ ๒๕๒๐ เมื่อพวกเรากำลังก่อการต่อต้าน ข้อตกลงการค้าและด่านภาษี General Agreement on Trade and Tariffs (GATT).  ฉันเริ่มใช้เวลามากขึ้นในเดลี ใช้เวลาครึ่งหนึ่งในการวิ่งขึ้นลงระหว่างเดลี และ เดห์ราดูน (บ้านเกิดของเธอ) ในการเอาเอกสารข้อมูล และใช้เวลาอีกหลายชั่วโมงร่างจดหมาย, นโยบาย,” ศิวะเล่า.
She hoped that the work would finish by 1995, but destiny had something else in store for Shiva. “We thought that by 1995 the work would finish but then India’s World Trade Organization membership came through,” she said. Shiva says the WTO membership meant that Indian farmers were going to be sacrificed for a few software jobs. “So our work went on. I registered a formal organisation in 1991, which would be the body fighting for the rights of small farmers and sent to establish a fair trade network in India,” Shiva said.
ตอนนั้น เธอหวังว่า งานนี้คงสิ้นสุดภายในปี ๑๕๓๘, แต่ฟ้าดินได้กำหนดให้เธอทำมากกว่านั้น.  “พวกเรานึกว่า งานคงจบในปี ๒๕๓๘ แต่แล้วอินเดียก็เกิดผ่านเข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลกได้,” เธอเล่า.  ศิวะกล่าวว่า สมาชิกภาพในองค์การค้าโลก หมายความว่า เกษตรกรอินเดียจะถูกสังเวยเพียงเพื่องานซอฟแวร์ไม่กี่ตำแหน่ง.  “ดังนั้น งานของเราจึงต้องดำเนินต่อไป.  ฉันได้จดทะเบียนเป็นองค์กรทางการในปี ๒๕๓๔, ซึ่งทำหน้าที่เป็นองคาพยพในการต่อสู้เพื่อสิทธิของเกษตรกรรายย่อย และ เป็นหลักในการสร้างเครือข่ายการค้าเป็นธรรมในอินเดีย,” ศิวะกล่าว.
She was pitched against some of the biggest corporations of the world. But her vision for a sustainable future remained clear and unaffected.
คู่ต่อสู้ของเธอ คือ บางบรรษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก.  แต่วิสัยทัศน์เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของเธอ กระจ่างชัดและไม่หวั่นไหว.
“I am fighting for an Earth that could sustain us in all her integrity, creativity, beauty, productivity, generosity. We are also fighting for the rights of ordinary people to have a livelihood and have democratic freedom,” she says sitting at her home, draped in a blue hand-printed sari and a simmering flame in her big eyes.
“ฉันกำลังต่อสู้เพื่อพระแม่โลก ให้สามารถค้ำจุนชีพของพวกเรา ด้วยศักดิ์ศรี, ความสร้างสรรค์, ความงาม, ความเจริญงอกงาม, ความเมตตากรุณา ทั้งหมดทั้งสิ้นของท่าน.  พวกเรากำลังต่อสู้เพื่อสิทธิของคนธรรมดาสามัญ ในวิถีชีวิตของตนและมีเสรีภาพประชาธิปไตย,” เธอกล่าวในขณะนั่งอยู่ที่บ้าน, ในชุดส่าหรีผ้าพิมพ์ลายเขียนสีน้ำเงิน และเปลวระริกในดวงตาคู่โตของเธอ.
When asked about the agricultural prosperity before the Green Revolution, she shared an anecdote about her mother who chose to be a farmer after being displaced during Partition. “My father was a senior forest officer but whenever we ran short of funds for our fees or for the construction of my parent’s retirement home, it was my mother who contributed to it. She had a higher income than a senior government officer back them,” Shiva recalls.
พอพูดถึงความรุ่งเรืองของเกษตรกรรมก่อนปฏิวัติเขียว, เธอก็เล่าเรื่องแม่ของเธอที่เลือกจะเป็นเกษตรกรหลังจากถูกเคลื่อนย้ายในระหว่างแบ่งแยกดินแดน.  “พ่อของฉันเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสในกรมป่าไม้ แต่เมื่อไรที่เราขาดเงินทุนในการจ่ายค่าเล่าเรียน หรือ ในการก่อสร้างบ้านปลดเกษียณของพ่อแม่ของฉัน, ก็จะเป็นแม่ของฉันที่ลงขัน.  แม่มีรายได้มากกว่าเจ้าหน้าที่อาวุโสภาครัฐในสมัยนั้น,” ศิวะหวนระลึก.
Comparing India to Mexico (that witnessed an uprising by corn farmers against industrialized farming), she said, “We should learn from the examples of Mexico and the peaceful tribes of India. Let me tell you that once India explodes nothing will be able to contain it.”
เมื่อเปรียบเทียบ อินเดีย กับ เม็กซิโก (ที่ได้เห็นการลุกฮือของเกษตรกรปลูกข้วโพดในการต่อต้านเกษตรอุตสาหกรรม), เธอกล่าวว่า, “เราควรเรียนรู้จากตัวอย่างของเม็กซิโก และ ชนเผ่าที่สงบสันติในอินเดีย.  ขอบอกว่า เมื่อไรอินเดียระเบิด ไม่มีอะไรจะยับยั้งมันได้.
While she seems to be fighting complex issues, Shiva’s solutions are surprisingly simple. “Plant a garden, save the seeds and eat fresh, eat local and go organic. Young people need to reconnect with the Earth and not be bullied by propaganda. Young people must reclaim their own self instead of blindly trying to be Americanized.”
ในขณะที่ดูเหมือนเธอจะต่อสู้ในเรื่องซับซ้อน, ทางแก้ไขของศิวะช่างเรียบง่ายอย่างน่าประหลาดใจ.  “ปลูกสวน, รักษาเมล็ดพันธุ์ และ กินของสด, กินของในท้องถิ่น และ เดินตามวิถีอินทรีย์/ธรรมชาติ.  คนหนุ่มสาวจำเป็นต้องหวนกลับไปเชื่อมโยงกับพระแม่โลก และ ไม่ยอมให้ถูกคำโฆษณาชวนเชื่อจูงจมูก.  คนหนุ่มสาวจะต้องทวงคืนตัวตนของตัวเอง แทนที่จะพยายามทำตัวเป็นอเมริกันประหนึ่งคนตาบอด.”
Shiva’s stand against globalization policies finds as many detractors as fans. However, she asks the sceptics to look for the facts. “I say do you own research and check out the facts and then decide what is right for you. We must stop accepting junk technologies that have failed all over the world. India must improve on traditional ways and educate the farmers. A new relationship between the producers and the consumers needs to be established for the future.”
จุดยืนของ ศิวะ ที่ต่อต้านนโยบายโลกาภิวัตน์ มีทั้งผู้กล่าวร้าย พอๆ กับ ผู้ชื่นชม.  แต่เธอตั้งคำถามต่อพวกช่างสงสัยที่มองหาข้อเท็จจริง.  “ฉันบอกว่า คุณต้องทำการค้นคว้าวิจัยเอาเอง และ สืบสอบข้อเท็จจริง แล้วตัดสินใจเอาเองว่า อะไรที่ถูกต้องสำหรับคุณ.  เราต้องหยุดสยบต่อเทคโนโลยีขยะ ที่ล้มเหลวทั่วโลก.  อินเดียจะต้องปรับปรุงต่อยอดจากวิถีเดิม และ ให้การศึกษาแก่เกษตรกร.  ผู้ผลิตและผู้บริโภค จะต้องมีความสัมพันธ์ชุดใหม่ที่ต้องร่วมกันสถาปนาสำหรับอนาคต.”
Vandana believes that with time more young people will join the fight for a sustainable life.
วันทนา เชื่อว่า เวลาผ่านไป คนหนุ่มสาวจะเข้าร่วมต่อสู้เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น